รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ
>>> ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
🔖 เอกสารประกอบ :
📖 -> ผลการวิเคราะห์ข้อมูล <- 📖 :
การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่มาขอรับหรือใช้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling)
โดยเป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ จำนวน 4 ภาระงาน ประกอบด้วย
-
การสนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภค
-
การขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ
-
การจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
-
งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
โดยจะทำการเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
-
ส่วนที่ 1 : ผลการแจกแจงข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการขอรับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉลี่ยต่อปี (ตารางที่ 2 – 7)
-
ส่วนที่ 2 : ผลการแจกแจงข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จากผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมด 400 คน จำนวน 4 ภาระงาน ประกอบด้วย งานป้องกัน สาธารณภัย (สนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภค) งานสวัสดิการสังคม (การขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ) งานด้านการศึกษา (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) และงานจัดเก็บ (งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้)
จากตารางที่ 8 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีระดับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.676 คิดเป็นร้อยละ 93.52 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า งานสวัสดิการสังคม (การขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ) ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.752 คิดเป็นร้อยละ 95.04 รองลงมาได้แก่ งานด้านการศึกษา (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)ในระดับมากที่สุดด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.728 คิดเป็นร้อยละ 94.56 ความพึงพอใจในการให้บริการงานจัดเก็บ (งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้) ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.672 คิดเป็นร้อยละ 93.44 และความพึงพอใจในงานป้องกัน สาธารณภัย (สนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภค) ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.552 คิดเป็นร้อยละ 91.04 ตามลำดับ
📖 -> สรุปผลการวิจัย <- 📖 :
การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอ หนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 4 ภาระงาน ประกอบด้วย
-
การสนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภค
-
การขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ
-
การจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
-
งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการดำเนินการเชิงสำรวจ (Survey) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการรวบรวมข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่มาขอรับหรือใช้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนาแสดงค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งสามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
ผลการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบ สอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า/ปวช. อาชีพเกษตรกร รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 8,000 บาท และขอรับบริการจากองค์การ บริหารส่วนตำบลหนองปรือน้อยกว่า 3 ครั้งต่อปี
ผลการแจกแจงข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ผู้ตอบแบบสอบถาม มีระดับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมในระดับมากที่สุดด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.676 คิดเป็นร้อยละ 93.52
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า งานสวัสดิการสังคม (การขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ) ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.752 คิดเป็นร้อยละ 95.04 รองลงมาได้แก่ งานด้านการศึกษา (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.728 คิดเป็นร้อยละ 94.56 ความพึงพอใจในการให้ บริการงานจัดเก็บ (งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้) ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.672 คิดเป็นร้อยละ 93.44 และความพึงพอใจในงานป้องกัน สาธารณภัย (สนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภค) ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.552 คิดเป็นร้อยละ 91.04 ตามลำดับ และหากพิจารณาแต่ละภาระงาน พบว่า
-
ภาระงานที่ 1 ด้านความพึงพอใจในการสนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภค ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในเรื่อง มีการสำรวจพื้นที่ที่ประสบปัญหา เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขล่วงหน้า รองลงมา คือ เจ้าหน้าที่ให้บริการจัดส่งน้ำให้ประชาชนที่เดือดร้อนได้ในทันที และมีการแจกจ่ายน้ำเพื่ออุปโภค/บริโภคให้กับประชาชนที่เดือดร้อนอย่างพอเพียง ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.63, 4.60 และ 4.53 คิดเป็นร้อยละ 92.60, 92.00 และ 90.60 ตามลำดับ
-
ภาระงานที่ 2 ด้านความพึงพอใจในการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในเรื่อง การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/คนพิการ/ผู้ป่วยเอดส์มีความเหมาะสม รองลงมาคือ การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ/คนพิการ ตรงต่อเวลา อันดับ 3 เท่ากัน 2 ด้าน คือ การให้บริการขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ/คนพิการและมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ต่างๆ ในด้านการขอรับเงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้สูงอายุ /คนพิการ ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.79, 4.76 และ 4.75 คิดเป็นร้อยละ 95.80, 95.20 และ 95.00 ตามลำดับ
-
ภาระงานที่ 3 ด้านความพึงพอใจในการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจอันดับแรกเท่ากัน 2 ด้านในเรื่อง มีการจัดครู/เจ้าหน้าที่เพื่อดูแลเด็กเล็กอย่างเหมาะสมและเพียงพอและมีการจัดกิจกรรม/อุปกรณ์ประกอบการเรียน/เครื่องเล่นที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก รองลงมาคือ มีมาตรการและอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดต่ออย่างเหมาะสม และความสะอาด/ความปลอดภัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.75, 4.73 และ 4.71 คิดเป็นร้อยละ 95.00, 94.60 และ 94.20 ตามลำดับ
-
ภาระงานที่ 4 ด้านความพึงพอใจในโครงการให้บริการงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจในเรื่อง ความเพียงพอของอุปกรณ์/เครื่องมือในการให้บริการด้านต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ รองลงมา คือ การให้บริการด้วยความสุภาพและเสมอภาคตามลำดับก่อน-หลัง และมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในด้านการเสียภาษี ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.76, 4.74 และ 4.65 คิดเป็นร้อยละ 95.20, 94.80 และ 93.00 ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะเชิงบริหาร
ด้านนโยบาย
-
ผลการศึกษา พบว่าประชาชนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการในด้านใด ผู้บริหารควรนำผลดังกล่าวเพื่อวางแผนในการพัฒนา กำหนดนโยบายเพื่อนาไปใช้ในงานด้านอื่น ๆ ต่อไป
-
ผู้บริหารควรกำหนดและชี้แจงนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารงานและการบริการในแต่ละด้านต่อสาธารณะชนอย่างทั่วถึง
-
ผู้บริหารควรมีนโยบายที่มุ่งเน้นความสำคัญต่อโครงการต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในชุมชนในพื้นที่
-
ผู้บริหารควรใช้ผลการศึกษาในครั้งนี้กำหนดสภาพปัจจุบันของตนเอง และแสวงหาความร่วมมือ กับหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องกับงานในแต่ละด้านเพื่อความเข้าใจของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ต่อไป
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
-
ควรมีการดำเนินศึกษาคุณภาพของการให้บริการในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตพื้นฐานของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงในด้านอื่น ๆ
-
ควรมีการดำเนินศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพในการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพในการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อไป
-
ควรมีการดำเนินศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของกระบวนในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้ในการปรับปรุงกระบวนการในการบริการ เพื่อลดขั้นตอนต่าง ๆ
-
ควรมีการดำเนินศึกษาการประชาสัมพันธ์โครงการต่าง ๆ ว่าชัดเจนและทั่วถึงในทุกชุมชน
-
ควรมีการดำเนินศึกษาเกี่ยวกับความต้องการของประชาชนในการให้บริการในแต่ละด้านขององค์การบริหารส่วนตำบล